วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453 ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 สภาพการณ์ทั่วไปก่อนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5

1.สภาพการณ์ทางด้านการเมือง
การเมืองภายในก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพอยู่ในระบบดั้งเดิม คือมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราชอาณาจักรโดยอาศัยเสนาบดี ซึ่งมีหน้าที่บริราชการส่วนกลางรวมทั้งหมด 6 กรม คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา การปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดี คือ สมุหพระกลาโหม ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ โกษาธิบดี ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ทรงได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบเสรีตามอย่างตะวันตก คือ ทรงให้บรรดาขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่างลง โดยพระองค์จะทรงเข้าแรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว แต่จะทรงเกี่ยวข้องก็เมื่อถึงเวลาที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามที่ขุนนางข้าราชการเสนอรายชื่อมาเท่านั้น ทางด้านการเมืองภายนอก ไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเริ่มมีท่าที่เห็นได้ชัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่ออังกฤษรุกรานพม่า และเกิดกระทบกระทั่งกับไทยเกี่ยวกับปัญหาเมืองไทรบุรีในมลายู นอกจากนั้นไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษใน พ.ศ. 2369 และเมื่ออังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) เข้ามาเจรจาของแก้ไขสนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393 แต่ไทยก็ได้ปฏิเสธที่จะแก้ไข จึงทำให้เกิดความวิกฤตในหมู่ผู้นำไทยบางกลุ่มที่เกรงว่าอังกฤษอาจะเปลี่ยนนโยบายจากการเจรจาด้วนสันติวิธีมาเป็นการเจรจาโดยใช้นโยบายอื่นบังคับไทยต่อไปในอนาคต ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้น สมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นผลทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเปลี่ยนมาเป็นนโยบายการค้าแบบเสรี โดยยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ รวมทั้งการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และอื่นๆ อีกหลายประการ นอกจากนั้นไทยยังต้องตกลงทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันที่ทำกับอังกฤษกับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ เพิ่มลดกระแสกดดันทางการเมืองและการทหารจากมหาอำนาจตะวันตก นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบีบคั้นจากมหาอำนาจตะวันตกได้อย่างสิ้นเชิง เช่น การยอมยกดินแดนเขมรส่วนในและเกาะต่างๆ อีก 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ 124,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีสิทธิเหนือเสียมราฐและพระตะบองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410

2.สภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ
ก่อนที่ไทยจะทำสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดทางด้านการค้าโดยพระคลังสินค้า การผลิตที่สำคัญเป็นการผลิตทางด้านการเกษตร ธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นกาค้าขนาดเล็กที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในราชอาณาจักร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในความควบคุมของพระลังสินค้า ที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้าที่มีค่าหลายประเภทภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว ระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบการค้าแบบเสรี ซึ่งทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากภายใน 19 เดือน นับแต่ลงนามในสนธิสัญญาบาวริง ได้มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯถึง 130 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าขายต่างประเทศถึง 37 ลำ ซึ่งเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2399 มีเรือต่างประเทศมาทอดสมออยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำ และได้เพิ่มจำนวนเป็น 103 ลำในปลายปีเดียวกัน ส่วนพ่อค้าในกรุงเทพฯได้ส่งเรือออกไปค้าขายถึง 37 ลำ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ยืนยันถึงการขยายตัวทางการค้าอย่างแท้จริงผลของการทำสนธิสัญญาบาวริง ระบบการค้าเสรีได้ทำให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองน้อยลง สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นไปเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนสินค้าออกของไทยสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆชนิด ก็เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด นอกจากนั้นการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดที่จะเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากมายเท่ากับการทำนา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปลูกพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆน้อยลง การขยายตัวในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปและความจำเป็นในการใช้แรงงานก็มีมากขึ้น แต่ในขณะที่แรงงานคนไทยยังไม่มีความเป็นอิสระเพราะยังติดอยู่กับระบบไพร่และทาส รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดให้จ้างคนจีนมาทำแทน สำหรับคนไทยก็อาจจะใช้วิธีจ่ายเงินแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้แรงงานเสรีภายหลังสนธิสัญญาบาวริงนี้ จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการยกเลิกระบบไพร่ในสมัยต่อมา

3.สภาพการณ์ทางด้านสังคม
สังคมไทยก่อนการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย
1.พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานะประดุจดังเทวราชา ธรรมราชา และพุทธราชา ผสมผสานกันไป ดังนี้
1) เทวราชา คิตีนี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานเป็นสมมติเทพตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือว่าพระองค์เป็นประดุจดังพระนารายณ์หรือพระอิศวรผู้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ ซึ่งราษฎรจะต้องให้ความเคารพบูชา ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน และยังคงมีการสืบทอดขนธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ที่สะท้อนให้เห็นถึงคติของลัทธิเทวราชาที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด เช่น การสร้างพระราชวัง การสร้างพระที่นั่ง การประกอบพระราชาพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น
2) ธรรมราชา คตินี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เอาไว้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ซึ่งถ้ากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้ว อาณาประชาราษฎร์ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
3) พุทธราชา คตินี้สืบทอดมาจากความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติทศพิธรราธรรมและจักรวรรดิวัตรอย่างเคร่งครัดก็เปรียบเสมือนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ เพื่อจะได้ไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภพต่อๆไป ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะประดุจดังพุทธราชา
คตินิยมเช่นนี้ เห็นได้จากพระนามของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีคำว่า พุทธ นำหน้าพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และถวายพระนามรัชกาลที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการกล่าวย้ำให้เห็นความเป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ล้วนแต่เป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศ คือ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้สืบสายเลือดของความเป็นเจ้า ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น เช่น มหาอุปราช กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ เป็นต้น
3. ขุนนาง
บุคคลที่รับราชาการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนามและตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ หรือบรรดาข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการบางคนอาจจะไม่ได้มีฐานเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางนั้นจะต้องอยู่กับศักดินาของตน กล่าวคือผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปก็จะได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็ก เพราะว่าเป็นขุนนางอยู่แล้ว ส่วนข้าราชการแผ่นดินที่มีศักดินาต่ำ 400 ไร่ยังมิได้เรียกว่าเป็นขุนนาง แต่จะอนุโลมเรียกว่าข้าราชการ ยศของขุนนางมี 8 ลำดับ จากสูงสุดไปหาต่ำสุด มีดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมิ่น และพัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระจะอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนนางถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไปมีศักดินาได้ไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้ที่เป็นพัน หมื่น ขุน อาจไม่ได้เป็นขุนนางถ้าศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ ดังนั้นสิทธิ์เป็นขุนนางได้ต้องมีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป

4. ไพร่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนหรือไพร่นั้น คือ ชายฉกรรจ์ที่ต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วย แบ่งตามสังกัดออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย( เจ้านายหรือขุนนาง) ตามกฎหมายกำหนด เพื่อรับใช้มูลนายเป็นการส่วนตัว เพื่อว่ามูลนายจะได้รู้สึกเป็นเกียรติ และเป็นกำลังให้มูลนายที่รับใช้งานของพระมหากษัตริย์ให้ดำเนินไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค ไพร่สมจึงสมบัติของนายมูลนายและต้องรับใช้มูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชาการ เนื่องจากสมัยก่อนขุนนางข้าราชการยังไม่มีเงินเดือน ดังนั้นการควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงผลประโยชน์ เช่น การได้รับส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการหรือได้รับของกำนัลจากไพร่ แต่เมื่อนายมูลถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง
2) ไพร่หลวง ไพร่สมที่มีอายุ 20 ปี มีหน้าที่รับราชการอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มีขุนนางเป็นผู้ดูแลควบคุม ในยามศึกสงครามต้องออกรบป้องกันบ้านเมือง ในยามบ้านเมืองปกติต้องทำงานให้แก่แผ่นดินปีละ 6 เดือน และออกไปประกอบอาชีพ 6 เดือน สลับเดือนไปจนครบ 6 เดือน เรียกว่า การเข้าเดือนออกเดือน หรือการเข้าเวรรับราชการ คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 1 เดือนสลับกันไป จนครบ 6 เดือน ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1) ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน สลับกันไป หากบ้านเมืองว่างเว้นจากสงครามเป็นเวลานานจะมีการผ่อนผันให้ไพร่หลวงส่งสิ่งของ ซึ่งเป็นทรัพย์กรในท้องถิ่น หรือ เงิน (เดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท แทนการเข้าเวรรับราชการ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของหรือเงิน แทนการเข้าเวรรับราชการนี้ เรียกว่า ไพร่ส่วย ฐานะโดยทั่วไปของไพร่นั้นอาจมีอิสระในด้านแรงงานของตนเองอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไพร่หลวงนั้นปีหนึ่งจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้กับทางราชการ 4 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ส่วนในเรื่องการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไพร่ไม่มีสิทธิ์ตั้งทนายของตนเอง อีกทั้งไพร่จุถูกจำกัดสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้ถ้าไพร่เรียกชื่อยศตำแหน่งขุนนางผิดไปจากความเป็นจริงจะต้องถูกปรับโทษ ส่วนในเรืองการปรับไหม ไพร่ก็เสียเปรียบขุนนาง เพราะเมื่อเวลาขุนนางทำผิดต่อไพร่ก็จะใช้ศักดินาขุนนางปรับขุนนาง แต่เมื่อไพร่ทำผิดต่อขุนนาง กลับไม่ใช้ศักดินาไพร่ปรับไพร่ แต่ใช้ศักดินาของขุนนางปรับไพร่ อย่างไรก็ตาม ไพร่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถ้าตนเองมีมูลนายต้นสังกัดหรือไพร่ที่มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ แล้วแต่ลักษณะและประเภทของไพร่ นอกจากนี้ไพร่สามารถมอบที่ดินให้แก่บุตรหลานของตนเองได้ ถ้าใครบุกรุกจะถูกปรับ แต่ถ้าบุตรหลานปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลา 9-10 ปี ไม่ทำให้ผลผลิตงอกเงย ที่ดินผืนนั้นต้องยกให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ไพร่ยังสามารถเปลี่ยนฐานะตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ถ้าเลื่อนระดับก็เป็นขุนนาง ถ้าลดระดับก็เป็นทาส
5. ทาส
ทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้
2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส
3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส
4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง
6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์
7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงคราม

การปฏิรูปสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

1.การยกเลิกระบบไพร่
2. การเลิกทาส
2.1 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส
1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน
2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น