วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย


รัฐสภาไทย นับจากการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการเมืองการปกครองของประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรกจำนวน 70 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะราษฎร ได้ทำการประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ประชุมชั่วคราว การประชุมในครั้งนี้มีมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายพลตรีพระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ขออนุมัติต่อที่ประชุมให้หลวงประดิษฐมนูธรรมดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก เพื่อปฏิบัติราชการประจำของสภาผู้แทนราษฎร
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระยะเริ่มแรกนั้นยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งมารองรับ ไม่มีงบประมาณและสถานที่ทำการเป็นของตนเอง เจ้าหน้าที่ของสำนักงานในขณะนั้นมีอยู่ทั้งหมด 7 คนด้วยกัน คือ หลวงคหกรรมบดี นายปพาฬ บุญ – หลง นายสนิท ผิวนวล นายฉ่ำ จำรัสเนตร นายสุริยา กุณฑลจินดา นายน้อย สอนกล้าหาญ และนายประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 7 คนนี้ ได้อาศัยวังปารุสกวันใช้เป็นสถานที่ทำงาน โดยไม่ได้รับเงินเดือน เพราะสำนักงานฯ ไม่มีงบประมาณ นอกจากทางการได้จัดเลี้ยงอาหารแก่เจ้าหน้าที่ทุกมื้อเท่านั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้กิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎรดำเนินไปโดยสมบูรณ์ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำขึ้นหน่วยหนึ่ง มีฐานะเป็นกรมขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร เรียกว่า “กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบและให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ เป็นอันว่ากรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดตั้งโดยกฎหมาย ตั้งแต่บัดนั้น และในปีเดียวกันนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหาร และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อของ “กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร” เป็น “สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร” และได้จัดวางระเบียบราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขึ้นตามกฎหมายฉบับใหม่ โดยประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการเป็น 3 กอง คือ สำนักงานเลขานุการ กองปฏิบัติ และกองบรรณารักษ์ และกรรมาธิการ
ในปี พ.ศ. 2484 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมขึ้นใหม่ โดยได้ยกฐานะสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นทบวงการเมือง และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 กอง คือ สำนักงานเลขานุการ และกองกรรมาธิการ ในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำเอาระบบสภาคู่มาใช้เป็นครั้งแรก ดังนั้น รัฐสภาประกอบด้วย พฤฒสภา (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแยกออกเป็น 2 สำนักงาน คือ “สำนักงานเลขาธิการพฤฒสภา” และ “สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน” การดำเนินงานฝ่ายธุรการของสำนักงานทั้งสองจึงแยกออกจากกันเป็นเอกเทศ
ในปี พ.ศ. 2490 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ครั้งที่ 10) แก้ไขเพิ่มเติม จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นให้มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการฝ่ายธุรการของพฤฒสภาและสภาผู้แทน โดยให้โอนข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการพฤฒสภาและสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนไปเป็นของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา พร้อมกันนี้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 กอง คือ กองกลาง กองการประชุม และกองกรรมาธิการ ซึ่งในแต่ละกองได้แบ่งเป็นแผนก กองกลางมี 5 แผนก กองการประชุมแบ่งเป็น 3 แผนก และกองกรรมาธิการแบ่งเป็น 2 แผนก และในปีเดียวกันนี้ได้เกิดการรัฐประหารและยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2489 และได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2491 ซึ่งพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ บัญญัติให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการวุฒิสภาและสภาผู้แทน ขึ้นต่อวุฒิสภาและสภาผู้แทน อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนโดยตรง พร้อมกันนี้ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา พ.ศ. 2491 ซึ่งสาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เปลี่ยนชื่อแผนกตำรวจสภาเป็นแผนกตรวจรัฐสภาเท่านั้น
ในปี 2494 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานภายในของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาอีกครั้ง โดยพระราชกฤษฎีกาโดยการปรับปรุงหน่วยงานครั้งนี้ มีการเพิ่มหน่วยงานขึ้นใหม่หลายหน่วยงาน คือ กองกลางแบ่งเป็น 6 แผนก กองการประชุม 4 แผนก และกองกรรมาธิการแบ่งเป็น 3 แผนก ในปีนี้ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้ง คณะรัฐประหารได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 กลับมาใช้ ส่งผลให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภากลับมาเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง โดยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2494 และมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2496 กล่าวคือเปลี่ยนชื่อแผนกตำรวจรัฐสภา เป็นแผนกตำรวจสภาผู้แทนราษฎร
ในปี พ.ศ. 2501 เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
พ.ศ. 2501 ตามธรรมนูญฉบับนี้ รัฐสภา คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงมีการปรับปรุงส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง โดยมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2503 ให้มีกองกลาง แบ่งเป็น 5 แผนก กองการประชุม แบ่งเป็น 4 แผนก กองกรรมาธิการ แบ่งเป็น 2 แผนก และกองปฏิคมและสถานที่ แบ่งเป็น 4 แผนก ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ประกาศใช้และกำหนดให้รัฐสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พระราชบัญญัติโอนกิจการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไปเป็นของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 8) ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา โดยกองกลางแบ่งเป็น 5 แผนก กองการประชุมแบ่งเป็น 4 แผนก กองกรรมาธิการและกองปฏิคมและสถานที่แบ่งเป็น 4 แผนก
ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา โดยกองกลางแบ่งเป็น 5 แผนก กองการประชุม แบ่งเป็น 4 แผนก กองกรรมาธิการ กองวิเทศสัมพันธ์ กองปฏิคมและสถานที่แบ่งเป็น 4 แผนก ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติพื้นความรู้ และวิธีสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสำหรับส่วนราชการที่มีพิเศษ โดยมีตำแหน่งราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ดังนี้ พนักงานชวเลขจัตวา พนักงานชวเลขตรี พนักงานชวเลขโท พลตำรวจรัฐสภา ผู้บังคับหมู่ตำรวจรัฐสภา และผู้บังคับหมวดตำรวจรัฐสภา ต่อมาธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 และประกาศของคณะปฏิวัติ ได้ตราพระราชกฤาฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ดังนี้ กองกลาง กองคลังและพัสดุ กองการประชุม กองกรรมาธิการ กองวิเทศสัมพันธ์ กองการประชาสัมพันธ์ กองสถานที่ กองการพิมพ์ ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า และศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย
สถานะตามกฎหมายของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ในปี พ.ศ. 2518 ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 27 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 (ฉบับพิเศษ หน้า 45-59) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 สาระสำคัญดังนี้ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนสังกัดรัฐสภา มาตรา 4
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี 2 ประเภท
1. ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับเต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 และมีคุณสมบัติเบื้องต้นตามมาตรา 24
2. ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา มาตรา 61 ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองมีดังนี้
1) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
2) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
3) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
4) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
5) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
6) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
7) เลขานุการประธานรัฐสภา
8) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
9) เลขานุการประธานวุฒิสภา
10) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
11) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
12) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
13) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณี แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 24 ยกเว้น (4) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาทั้งสองประเภทนั้น ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 มาตรา 44 45 และมาตรา 46
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ส่วนราชการเหล่านี้มีฐานะเทียบเท่ากรม และเป็นนิติบุคคล สำหรับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นหากจะจัดตั้งก็ต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ จากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวข้างต้น เป็นผลให้ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 และการแบ่งส่วนภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2544
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม ปี พ.ศ. 2546 ออกเป็น 20 สำนัก และ 4 กลุ่มงานดังนี้
1. สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร
2. สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
3. สำนักงานบริหารงานกลาง
4. สำนักงานพัฒนาบุคลากร
5. สำนักการคลังและงบประมาณ
6. สำนักการพิมพ์
7. สำนักรักษาความปลอดภัย
8. สำนักงานประชาสัมพันธ์
9. สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
10. สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
11. สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 1
2. สำนักวิชาการ
13. สำนักสารสนเทศ
14. สำนักการประชุม
15. สำนักกฎหมาย
16. สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
17. สำนักกรรมาธิการ 1
18. สำนักกรรมาธิการ 2
19. สำนักกรรมาธิการ
20. สำนักภาษาต่างประเทศ
21. กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้าน
22. กลุ่มงานนโยบายและแผน
23. กลุ่มงานตรวจสอบภายใน
24. กลุ่มช่วยอำนวยการนักบริหาร
และกลุ่มงานภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 4 กลุ่มงานดังนี้
1. กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
2. กลุ่มงานนโยบายและแผน
3. กลุ่มงานตรวจสอบภายใน
4. กลุ่มช่วยอำนวยการนักบริหาร ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศรัฐสภา มีดังนี้
1. สำนักประธานวุฒิสภา
2. สำนักงานประชาสัมพันธ์
3. สำนักงานบริหารงานกลาง
4. สำนักการคลังและงบประมาณ
5. สำนักการต่างประเทศ
6. สำนักวิชาการ
7. สำนักการประชุม
8. สำนักกำกับและตรวจสอบ
9. สำนักกรรมาธิการ 1
10. สำนักกรรมาธิการ 2
11. สำนักกฎหมาย
12. สำนักภาษาต่างประเทศ
13. สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล
14. สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
15. สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
16. สำนักการพิมพ์
17. สำนักกรรมาธิการ
18. สำนักนโยบายและแผน
และกลุ่มงานภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 3 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มงานที่ปรึกษา
2. กลุ่มช่วยอำนวยการนักบริหาร
3. กลุ่มตรวจสอบภายใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น